ติดตั้ง Coova-Chilli เพื่อรองรับการใช้งาน Vlan
การติดตั้ง Coova-Chilli ให้รองรับการใช้งาน Vlan ![]() ความเป็นและความสำคัญของปัญหา 1. เดิมทีผมใช้งาน chillispot+free-radius+mysql ร่วมกับตัวจัดการระบบของ ม.บูรพา (ใช้ CentOS 5.3 แบบ x86_64 bit) ซึ่งจะมีปัญหาในเรื่องของการ Login มันยากมากๆๆๆ ผู้ใช้ต้องทำการ Login หลายๆ ครั้ง จึงจะสามารถ Login ได้ และเครื่องจำพวกที่ใช้ IOS คือ iPhone, iPad ไม่สามารถ Login ได้ (แต่ในความเป็นจริงตัวผมเองไม่ค่อยจะสนใจ User เท่าไหร่) 2. เคยจะเปลี่ยนมาใช้ coova-chilli นานแล้ว แต่บังเอิญว่าเคยทดสอบด้วย coova-chilli-1.25 ไม่สำเร็จ (มี error เกิดขึ้น เมื่อสั่งให้เซอร์วิสทำงาน มันใช้แรมของเครื่องจนหมด เครื่องแฮงค์) จึงหยุดกระบวนการทันที 3. ช่วงเดือนเมษายน 2556 วิทยาลัยฯ ปิดภาคเรียน จึงมีเวลาว่างได้ทดสอบอีกครั้งโดยในครั้งนี้ใช้เวอร์ชั่นล่าสุด คือ coova-chilli-1.30 โดยทำการคอมไพล์ด้วยตัวเองจากไฟล์ .tar ให้เป็นไฟล์แบบ .rpm ใช้ทดแทน chillispot ของเดิม แต่ตัวจัดการระบบยังใช้ของ ม.บูรพา เหมือนเดิมทุกอย่างไม่ได้แก้ไขอะไร ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องศึกษาได้จากเว็บบอร์ดนี้ หรือแหล่งใหญ่คือ http://linuxthai.org ลำดับขั้นการติดตั้งและปรับแต่งค่า 1. เพิ่มโมดูลให้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์รองรับการใช้งาน vlan โดยพิมพ์ดังนี้ ![]() ![]() ![]() 2. เพิ่ม LAN Card สำหรับทำ vlan โดยการสำเนาไฟล์ ifcfg-eth1 ในที่นี้จะสร้างจำนวน 2 vlan คือ vlan10 และ vlan11 (ทั้งนี้ Layer 3 Switch จะให้เริ่มใช้ตั้งแต่ vlan2 เป็นต้นไป) 2.1. เข้าสู่ไดเรกทอรีที่เก็บไฟล์คอนฟิกของ Lan Card ![]() 2.2. สำเนาไฟล์ LAN Card สำหรับ vlan10 ![]() 2.3. สำเนาไฟล์ LAN Card สำหรับ vlan11 ![]() 2.4. แก้ไขไฟล์คอนฟิกของ Lan Card สำหรับ vlan10 โดยใช้เท็กซ์อิดิเตอร์ เช่น vi หรือ nano ให้มีค่าดังนี้ ![]() 2.5. แก้ไขไฟล์คอนฟิกของ Lan Card สำหรับ vlan11 โดยใช้เท็กซ์อิดิเตอร์ เช่น vi หรือ nano ให้มีค่าดังนี้ ![]() 2.6. สั่ง restart service network หรือ reboot ระบบใหม่เพื่อให้ eth1.10 และ eth1.11 ทำงาน ![]() 2.7. ตรวจสอบดูค่า Network Interface Card โดยใช้คำสั่ง ifconfig จะปรากฏ eth1.10 และ eth1.11 เพิ่มขึ้นมาดังรูป ![]() 3. ทำการติดตั้ง coova-chilli (ถ้าเดิมใช้ chillispot ให้ทำการถอด chillispot ออกก่อน) 3.1. หยุดการทำงานของ chillispot ด้วยคำสั่ง /etc/init.d/chilli stop ![]() 3.2. ถอดถอน chillispot ออกจากระบบด้วยคำสั่ง rpm -e chillispot ![]() 3.3. ติดตั้ง coova-chilli (ในที่นี้ใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ CentOS แบบ 64bit) จึงใช้ coova-chilli แบบ x86_64 ซึ่งผมได้ทำการคอมไพล์มาจากไฟล์แบบ .tar ทดสอบแล้วสามารถใช้งานได้ สามารถดาวน์โหลดตามลิงค์นี้ http://www.sptc.ac.th/download/program/coova-chilli-1.3.0-1.x86_64.rpm ![]() 4. สร้างไดเรกทอรีสำหรับเก็บค่าคอนฟิกของ tun0 และ tun1 สำหรับ vlan10 และ vlan11 4.1. สร้างไดเรกทอรีสำหรับเก็บค่าคอนฟิกของ tun0 ![]() 4.2. สร้างไดเรกทอรีสำหรับเก็บค่าคอนฟิกของ tun1 ![]() 5. คัดลอกไฟล์ /etc/chilli.conf ไปที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.10 และ /etc/chilli/eth1.11 5.1. คัดลอกไฟล์ /etc/chilli.conf ไปที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.10 ![]() 5.2. คัดลอกไฟล์ chilli.conf ไปที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.11 ![]() 6. คัดลอกไฟล์ /etc/chilli/config ไปที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.10 และ /etc/chilli/eth1.11 6.1. คัดลอกไฟล์ /etc/chilli/config ไปที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.10 (ชื่อไฟล์เดิมคือ defaults) ![]() 6.2. คัดลอกไฟล์ /etc/chilli/config ไปที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.11 (ชื่อไฟล์เดิมคือ defaults) ![]() 7. แก้ไขไฟล์ chilli.conf ที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.10 และ /etc/chilli/eth1.11 7.1. แก้ไขไฟล์ chilli.conf ที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.10 โดยใช้ vi หรือ nano ให้มีค่าดังนี้ ![]() 7.2. แก้ไขไฟล์ chilli.conf ที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.11 โดยใช้ vi หรือ nano ให้มีค่าดังนี้ ![]() 7.3. สำหรับไฟล์ main.conf, hs.conf และ local.conf ไม่ต้องคัดลอกมา เพราะระบบจะสร้างให้เองเมื่อสั่งเซอร์วิส chilli ทำงาน 8. แก้ไขไฟล์ config ที่ไดเรกทอรี /etc/chilli/eth1.10 และ /etc/chilli/eth1.11 ![]() ![]() ![]() ![]() 9. แก้ไขไฟล์ /etc/init.d/chilli เพื่อให้สามารถสั่ง start และ restart service chilli ได้ ให้ทำการเพิ่มข้อความ จากเดิม “$(which start-stop-daemon)” แก้ไขให้เป็นดังนี้ “$(which start-stop-daemon 2>/dev/null)” โดยเพิ่มเข้าไปจำนวน 2 บรรทัด ในส่วนของ start และ stop ดังนี้ ![]() ![]() 10. สั่งให้เซอร์วิส chilli ทำงานโดยใช้คำสั่ง /etc/init.d/chilli start หรือ service chilli start ![]() ![]() 11. ตรวจสอบค่า network ด้วยคำสั่ง ifconfig ทั้งนี้ระบบจะสร้าง tun0 สำหรับ vlan10 และ tun1 สำหรับ vlan11 ขึ้นมาให้เพิ่มเติม ซึ่งจากเดิมจะมีเพียงแค่ eth0, eth1, eth1.10, eth1.11 และ lo เท่านั้น ![]() 12. ใช้เครื่องลูกข่าย Windows 7 ทดสอบการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต ![]() 13. สำหรับตัวอย่างการคอนฟิก Layer 3 Switch ให้ดูจากลิงค์นี้ http://www.sptc.ac.th/webboard/viewtopic.php?f=6&t=4&sid=82986a0644e28ae692a75172d37893e7 ผลการทดสอบ เป็นข้อมูลที่ผมใช้งานจริง ของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ เมื่อเปรียบเทียบกับ chillispot แล้วขอแยกเป็นประเด็นดังนี้ 14.1. ผู้ใช้จะ login ได้ง่ายกว่า และเครื่องตระกูล Mac ได้แก่ iPhone, iPad ก็สามารถ login ได้เช่นกัน 14.2. แต่มีปัญหาที่แก้ไขยังไม่ได้คือ ถ้าให้ทำการ Redirect ไปยังเว็บไซต์ coova-chilli จะไม่แสดง popup ของเวลาขึ้นมา ต้องให้ผู้ใช้ (User) พิมพ์คำสั่ง http://logout/ หรือhttp://logout. ที่ Address Bar ของเว็บบราวเซอร์ จึงจะสามารถตัดการเชื่อมต่อ (Disconnect) ระบบได้ 14.3 มีผู้ใช้งาน Login เข้าใช้งานพร้อมกัน (เท่าที่เคยตรวจสอบดู) ประมาณ 400 คน
|
หน้าแรก >
ติดตั้ง Coova-Chilli เพื่อรองรับการใช้งาน Vlan
โพสต์10 พ.ย. 2559 02:09โดยcomsit wiratติดตั้ง Coova-Chilli เพื่อรองรับการใช้งาน Vlan
|